LOPBURI FULL DAY TOUR
วันเดียวเที่ยวครบลพบุรี
จองเลยวันนี้ ราคารวมรถ VIP+ไกด์
อาหาร 2 มื้อ จอง 6 ท่านขึ้นไป / คนละ 1200 บาท
วันเดียวเที่ยวครบกับการท่องเที่ยวเต็มรูปแบบที่จังหวัดลพบุรี
เที่ยวเมืองเก่าลพบุรี วัดพระศรีมหาธาตุ พระนารายณ์ราชนิเวศน์
บ้านวิชาเยนทร์ ศาลพระกาฬ พระปรางค์สามยอด ทุ่งทานตะวัน
หรือ ทุ่งดอกไม้ที่กระเพราะคอฟฟี่ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ น้ำตกวังก้านเหลือง
เว็บไซต์ส่งเสริมการท่องเที่ยว และประชาสัมพันธ์ จังหวัดลพบุรี
ลพบุรี.org
Lopburi Travel Guide - Everything You Need to Know About Lopburi
ต.บางขันหมาก อ.เมืองลพบุรี จ.ลพบุรี
วัดสิงห์ทอง
วัดสิงห์ทอง ตั้งอยู่เลขที่ 113 ตำบลบางขันหมาก อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี สังกัดมหานิกาย
มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๑๖ ไร่ ๓ งาน ๙ ตารางวา โฉนดที่ดินเลขที่ ๒๓๓๓๐ อาณาเขตทิศเหนือ ติดกับแม่น้ำลพบุรี ทิศใต้ ติอต่อกับคลองชลประทาน ทิศตะวันออก ติดต่อกับลำราง ทิศตะวันตก ติดต่อกับทาง สาธารณะ มีที่ธรณีสงฆ์ จำนวน ๔ แปลง รวมเนื้อที่ ๓๓ไร่ ๑ งาน ๙๖ ตารางวา โฉนดที่ดินเลขที่ ๓๕๒๐, ๓๕๒๗ ,๓๓๘๔, ๘๖๖๒
พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่ม มีกำแพงก่ออิฐถือปูนโดยรอบ บริเวณวัด มีอาคารและเสนาสนะต่างๆเช่น ศาลาการเปรียญ กว้าง ๑๕ เมตร ยาว ๓๐ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๓ เป็นอาคารคอนกรีต ๒ ชั้น หอสวดมนต์ กว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๑๖ เมตร กุฏิสงฆ์ จำนวน ๒ หลัง เป็นอาคารไม้ นอกจากนี้ยังมี วิหาร หอระฆัง และฌาปนสถาน ศาลาธรรมสังเวช สำหรับปูชนียวัตถุมี พระประธานอุโบสถ พระพุทธรูปปางนาคปรก ๓ องค์
วัดสิงห์ทอง สร้างขึ้นเป็นวัดนับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๓๖๖ เดิมเรียกว่า วัดบางขันหมาก ต่อมามีผู้เล่าว่าได้เคยขุดสระน้ำพบ สิงห์ ซึ่งเป็นรูปปั้นหินทรายแกะสลัก ชาวบ้านจึงเรียกกันเป็นนามวัดว่า สิงห์ทอง มาจนถึงปัจุบัน
วัดสิงห์ทอง ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาอุโบสถหลังใหม่ เมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๒๒
เขตวิสุงคสีมากว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๘๐ เมตร สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมงกุฏราชกุมารฯ ทรงเสด็จตัดลูกนิมิต
พระครูสมุห์ บุญชู โชติวโร
เกิด ๕ เมษายน ๒๕๐๓
พรรษา ๒๘ พรรษา
วัด วัดสิงห์ทอง
การศึกษา
นักธรรมเอก
ตำแหน่ง
เจ้าอาวาสวัดสิงห์ทอง
ลำดับเจ้าอาวาสวัดสิงห์ทอง
อดีต-ปัจจุบัน
๑.พระอาจารย์ตุ่น
๒.พระอาจารย์เทศ
๓.พระอาจารย์อินทร์
๔.พระอาจารย์หัว ทองชื่น
๕.พระอาจารย์ศรี แสงสุริยะ พ.ศ.๒๔๕๘-๒๔๗๐
๖.พระอาจารย์หงิม ศรีละเวช พ.ศ.๒๔๗๐-๒๔๗๕
๗.พระอาจารย์ประสาร อินทรพงษ์ พ.ศ.๒๔๗๕-๒๔๘๐
๘.พระอาจารย์กลึง แก้วไทย พ.ศ.๒๔๘๐-๒๔๘๕
๙.พระครูวิบูลจริยาวัตร พ.ศ.๒๔๘๕-๒๕๓๑
๑๐.พระครูสุทธิธรรมารักษ์ ๗ ธันวาคม ๒๕๓๑ -๒๕๖๑
๑๑.พระครูสมุห์ บุญชู โช พ.ศ.๒๕๖๒-ปัจจุบัน