top of page

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ 

 ตั้งเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๖ แบ่งอาคารจัดแสดงศิลปะโบราณวัตถุเป็น ๔ อาคาร

 

๑. พระที่นั่งพิมานมงกุฎ

เป็นตึก ๓ ชั้น สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

(รัชกาลที่ ๔) โดยโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งนี้และหมู่ตึกต่างๆ เพื่อใช้ในการแปรพระราชฐาน ปัจจุบันใช้เป็นอาคารจัดแสดงนิทรรศการถาวรเกี่ยวกับพัฒนาการเมืองลพบุรี ตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์ถึงสมัยปัจจุบัน ดังนี้

ชั้นที่ ๑
จัดแสดงโบราณวัตถุและศิลปวัตถุที่บอกเล่าเรื่องราวเมืองลพบุรีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ (ราว 3,500 ปี ที่แล้ว)ต่อเนื่องมาจนถึงวัฒนธรรมทวารวดี ซึ่งเชื่อว่าเป็นต้นประวัติศาสตร์ไทย และการเริ่มติดต่อ-สัมพันธ์กับดินแดนโพ้นทะเล เป็นต้น

 

ชั้นที่ ๒
จัดแสดงนิทรรศการลำดับพัฒนาการเมืองลพบุรีเป็นเรื่องราวต่อเนื่องจากชั้นที่ ๑ ซึ่งต่อจากช่วงวัฒนธรรมทวารวดี เข้าสู่ช่วงความเจริญของวัฒนธรรม-อิทธิพลศิลปะเขมรในประเทศไทย อายุราวพุทธศตวรรษที่ 16-18 จัดแสดงศิลปวัตถุและโบราณวัตถุที่สำคัญ เช่น ทับหลัง พระพุทธรูปนาคปรก และเทวรูปต่างๆ ต่อเนื่องมาจนถึงสมัยอยุธยา จัดแสดงงานศิลปกรรมและงานช่างในสมัยอยุธยา เรื่อยมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์

 

ชั้น ๓
เดิมเป็นห้องบรรทมพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) จัดแสดงเหมือนครั้งที่ยังประทับอยู่ มีพระแท่นบรรทม ฉลองพระองค์ พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระสาทิสลักษณ์ แท่นบรรทม เหรียญเงินต่างๆ เครื่องแก้ว เครื่องประกอบโต๊ะพระกระยาหารที่มีตราประจำพระองค์ (มงกุฎ) เป็นต้น

 

๒. พระที่นั่งจันทรพิศาล

๓. หมู่ตึกพระประเทียบ

๔. พิพิธภัณฑ์หนังใหญ่


ห้องภาคกลางประเทศไทย พ.ศ. ๘๐๐ - ๑๕๐๐

รับอิทธิพลของวัฒนธรรมอินเดียที่เรียกว่า สมัยทวารวดี จัดแสดงเรื่องการเมือง การตั้งถิ่นฐาน เทคโนโลยี และ
การดำเนินชีวิต อักษร ภาษา ศาสนสถาน ศาสนาและความเชื่อถือ หลักฐานที่จัดแสดงได้แก่ พระพุทธรูป พระพิมพ์ดินเผา เหรียญตราประทับดินเผา จารึกภาษาบาลี สันสกฤต และรูปเคารพต่างๆ 

ห้องอิทธิพลศิลปะเขมร - ลพบุรี จัดแสดงหลักฐานทางประวัติศาสตร์ อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕ - ๑๘

โบราณคดีสมัยชนชาติขอมแผ่อิทธิพลเข้าปกครองเมืองลพบุรี และบริเวณภาคกลางของประเทศไทย ได้แก่ ทับหลัง พระพุทธรูปปางนาคปรก พระพุทธรูปปางประทานอภัย เป็นต้น

 

ห้องประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย

จัดแสดงศิลปกรรมที่พบตามภาคต่างๆ ของประเทศไทย ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๘ ได้แก่ ศิลปะแบบหริภุญไชย
ศิลปะล้านนา ศิลปะสมัยลพบุรี เช่น พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พระพิมพ์ และพระพุทธรูปสำริดสมัยต่างๆ 

ห้องประวัติศาสตร์ศิลปกรรมสมัยอยุธยา - รัตนโกสินทร์ ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๘ - ๒๔

ได้แก่ พระพุทธรูป เครื่องถ้วย เงินตรา อาวุธ เครื่องเงิน เครื่องทอง และชิ้นส่วนสถาปัตยกรรมปูนปั้น และไม้แกะสลักต่างๆ 

ห้องศิลปะร่วมสมัย จัดแสดงภาพเขียน และภาพพิมพ์ศิลปะร่วมสมัยของศิลปินไทย

ห้องศิลปะร่วมสมัย จัดแสดงภาพเขียน และภาพพิมพ์ศิลปะร่วมสมัยของศิลปินไทย

ห้องประวัติศาสตร์ การเมือง สังคม วัฒนธรรมและพระราชประวัติของสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) ซึ่งโปรดฯ ให้สร้างพระราชวัง ณ เมืองลพบุรี เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๙ ได้แก่ ภาพพระบรมสาทิสลักษณ์ ฉลองพระองค์ เครื่องใช้ แท่นบรรทม เหรียญทอง และจานชามมีรูปมงกุฎ ซึ่งเป็นพระราช ลัญจกรประจำพระองค์ เป็นต้น

  พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์   

เปิดบริการ วันพุธ - วันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น.

Tel . 036-411458

 

โบราณสถานพระนารายณ์ราชนิเวศน์ 

เปิดบริการวันจันทร์ – วันอาทิตย์ เวลา ๐๗.๐๐ - ๑๗.๓๐ น.

 

ชาวไทย ๑๐ บาท ชาวต่างประเทศ ๓๐ บาท 

นักเรียนนักศึกษาในเครื่องแบบ ภิกษุสามเณรและนักบวชในศาสนาต่างๆ ไม่เสียค่าธรรมเนียมเข้าชม

bottom of page