


LOPBURI FULL DAY TOUR
วันเดียวเที่ยวครบลพบุรี
จองเลยวันนี้ ราคารวมรถ VIP+ไกด์
อาหาร 2 มื้อ จอง 6 ท่านขึ้นไป / คนละ 1200 บาท
วันเดียวเที่ยวครบกับการท่องเที่ยวเต็มรูปแบบที่จังหวัดลพบุรี
เที่ยวเมืองเก่าลพบุรี วัดพระศรีมหาธาตุ พระนารายณ์ราชนิเวศน์
บ้านวิชาเยนทร์ ศาลพระกาฬ พระปรางค์สามยอด ทุ่งทานตะวัน
หรือ ทุ่งดอกไม้ที่กระเพราะคอฟฟี่ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ น้ำตกวังก้านเหลือง

เว็บไซต์ส่งเสริมการท่องเที่ยว และประชาสัมพันธ์ จังหวัดลพบุรี
ลพบุรี.org
Lopburi Travel Guide - Everything You Need to Know About Lopburi

Pa Sak Jolasid Dam
เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เป็นเขื่อนดินกักเก็บน้ำที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ เพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วม เริ่มดำเนินการก่อสร้างในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2537 โดยกรมชลประทานเป็นผู้รับผิดชอบ ขนาดความจุอ่างเก็บน้ำ 960 ล้ านลูกบาศก์เมตร
เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

นับตั้งแต่อดีตในพื้นที่ลุ่มน้ำป่าสัก ราษฎรได้ประสบปัญหาทั้งในเรื่องการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภค รวมถึงปัญหาที่เกิดจากอุทกภัย ที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี ทำให้สูญเสียโอกาสในการประกอบอาชีพ และมูลค่าทางเศรษฐกิจเป็นจำนวนมาก ด้วยพระราชหฤทัยที่ทรงห่วงใยราษฎรผู้ประสบปัญหาดังกล่าวนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงทรงมีพระราชดำริให้มีการศึกษาและพัฒนาลุ่มน้ำป่าสักอย่างจริงจังและเร่งด่วน เพื่อช่วยแก้ไขและบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้น โดยพระราชทานเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ให้แก่ราษฎรของพระองค์ ซึ่งกรมชลประทานได้สนองแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดำเนินการก่อสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ขึ้นเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2537 ใช้เวลาในการก่อสร้างเขื่อนเป็นเวลา 5 ปี โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2542 นับแต่นั้นเป็นต้นมา เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ได้ยังประโยชน์แก่ราษฎรสมดังชื่อเขื่อนที่ได้ทรงพระราชทานนามที่มีความหมายว่า “เป็นเขื่อนเก็บกักน้ำที่มีประสิทธิภาพ”
โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ได้ดำเนินการบริหารจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และในลุ่มน้ำป่าสัก เพื่อให้ราษฎรได้รับประโยชน์จากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์อย่างเต็มที่ และบรรลุวัตถุประสงค์ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙




ประวัติความเป็นมา
ความเป็นมาของเขื่อนป่าสัก เริ่มตั้งแต่ ปี 2497 หรือเมื่อ 50 ปีก่อน ที่อยู่ในแผนพัฒนาของกรมชลประทานในการพัฒนาลุ่มแม่น้ำป่าสักเพื่อการอุปโภคบริโภค ซึ่งปัญหาก็มาจากการขาดแคลนน้ำที่ไม่เพียงพอ จากนั้นในปี 2508 ก็เริ่มศึกษาโครงการเขื่อนกักเก็บน้ำป่าสัก วัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการเกิดอุทกภัยของลุ่มแม่น้ำป่าสักไปจนถึงกรุงเทพและปริมณฑล ซึ่งขณะนั้นก็มีแนวคิดที่จะสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำที่ อ.แก่งคอย สระบุรี แต่ก็ล้มเลิกเนื่องจากต้องใช้เงินลงทุนสูง มาถึงปี 2532 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริให้กรมชลประทานศึกษาอย่างจริงจังและเร่งด่วน เพื่อแก้ปัญหาอุทกภัย จากนั้นโครงการนี้ก็ได้ผ่านเห็นชอบจากคณะกรรมการศึกษาในด้านต่างๆมาโดยตลอด เช่นด้านสิ่งแวดล้อม และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับราษฏร รวมทั้งโครงสร้างของชั้นดิน โดยว่าจ้างบริษัทต่างชาติมาทำการศึกษา และวันที่ 3 พฤษภาคม 2537 คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้เปิดโครงการก่อสร้าง โครงการเขื่อนเก็บกักน้ำแม่น้ำป่าสัก และดำเนินการก่อสร้างในปีเดียวกัน
15 มิถุนายน 2541 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จประกอบพิธีเริ่มการเก็บกักน้ำเป็นปฐมฤกษ์ และวันที่ 7 ตุลาคม 2541 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานชื่อ “ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ”
สารคดี เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี
โครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสัก อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ข้อมูลจำเพาะ
เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ตั้งอยู่ที่ตำบลหนองบัว อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี และตำบลพราน อำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี พื้นที่ของโครงการมีทั้งสิ้น ๑๐๕,๓๐๐ ไร่ ซึ่งมีรายละเอียดังนี้
• จังหวัดลพบุรี มีทั้งสิ้น ๙๖,๖๕๘ ไร่ ครอบคลุม ๓ อำเภอได้แก่ อำเภอพัฒนานิคม อำเภอท่าหลวง และอำเภอชัยบาดาล
• จังหวัดสระบุรี มีทั้งสิ้น ๘,๖๔๒ ไร่ คือ อำเภอวังม่วง
เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เป็นเขื่อนดินชนิดมีแกนดินเหนียวยาว ๔,๘๖๐ เมตร สูง ๓๑.๕๐ เมตร ระดับน้ำกักเก็บสูงสุด +๔๓.๐๐ ม.รทก.
เก็บน้ำได้ ๙๖๐ ล้านลูกบาศก์เมตร งบประมาณการดำเนินงานรวมทั้งสิ้น ๑๙,๒๓๐.๗๙๐๐ ล้านบาท
25 พฤศจิกายน 2542 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี เสด็จเปิดเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

