LOPBURI FULL DAY TOUR
วันเดียวเที่ยวครบลพบุรี
จองเลยวันนี้ ราคารวมรถ VIP+ไกด์
อาหาร 2 มื้อ จอง 6 ท่านขึ้นไป / คนละ 1200 บาท
วันเดียวเที่ยวครบกับการท่องเที่ยวเต็มรูปแบบที่จังหวัดลพบุรี
เที่ยวเมืองเก่าลพบุรี วัดพระศรีมหาธาตุ พระนารายณ์ราชนิเวศน์
บ้านวิชาเยนทร์ ศาลพระกาฬ พระปรางค์สามยอด ทุ่งทานตะวัน
หรือ ทุ่งดอกไม้ที่กระเพราะคอฟฟี่ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ น้ำตกวังก้านเหลือง
เว็บไซต์ส่งเสริมการท่องเที่ยว และประชาสัมพันธ์ จังหวัดลพบุรี
ลพบุรี.org
Lopburi Travel Guide - Everything You Need to Know About Lopburi
White Clay
OF LOPBURI
ดินสอพอง หรือ มาร์ล หรือ มาร์ลสโตน มีองค์ประกอบทางเคมีเป็นแคลเซียมคาร์บอเนต หรือโคลนหรือหินโคลนที่อุดมไปด้วยเนื้อปูนที่มีองค์ประกอบที่แปรผันของแร่เคลย์และอาราโกไนต์
หมู่บ้านดินสอพอง ลพบุรี
หมู่บ้านดินสอพอง ลพบุรี ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งผลิตดินสอพองที่มีคุณภาพดีที่สุดแห่งเดียวในประเทศไทย แหล่งผลิตอยู่ที่ หมู่บ้านหินสองก้อน (ริมคลองชลประทาน) ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมือง (บริเวณสะพาน 6) เป็นหมู่บ้านที่มีการทำดินสอพองกัน แทบทุกครัวเรือน และบริเวณนั้นจะมีดินสีขาว เรียกกันว่า ดินมาร์ล มีเนื้อเนียนขาว ละเอียดแน่น จึงไม่เหมาะแก่การปลูกพืช แต่ด้วยภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่น ได้นำมาผลิตเป็นดินสอพอง ซึ่งสามารถนำไปเป็นวัตถุดิบในการทำผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้หลายชนิดเช่น แป้ง เครื่องสำอาง ยาสีฟัน ตกแต่งผิวเครื่องเรือน
ดินสอพอง ถือเป็นสมุนไพรที่อยู่คู่เมืองไทยมาช้านาน ซึ่งจัดอยู่ในสมุนไพรจำพวกแร่ธาตุ หรือเรียกว่าเครื่องยาธาตุวัตถุ แต่ถ้าสืบค้นไปก็จะพบว่าดินสอพองเป็นยาสมุนไพรตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จาก “ตำราพระโอสถพระนารายณ์” ที่กล่าวถึงดินสอพองไว้ว่า “ ให้เอาชานอ้อย กำยาน แก่นคูน กรักขีถาก รมหม้อใหม่ใส่น้ำไว้ จึงเอาดินสอพองเผาให้สุก ใส่ลงในหม้อน้ำนั้นให้คนไข้กินเนืองๆ แก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำ หยุดแล” ซึ่งถือว่าดินสอพองเป็นยาสมุนไพรที่เก่าแก่ และรักษาโรคให้กับผู้คนในสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี
ปัจจุบันแหล่งผลิตวัตถุดิบของดินสอพองแหล่งใหญ่อยู่ที่ตำบลท่าแค และตำบลท่าตะโก จังหวัดลพบุรีที่ใต้พื้นดินมีแร่ธาตุที่เรียกว่า “ดินสอพอง” อยู่เป็นจำนวนมาก โดยชาวบ้านจะไปรับซื้อดินสอพองมาจากละแวกนั้น แล้วนำมาผลิตที่หมู่บ้านหินสองก้อน (ริมคลองชลประทาน) ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมือง (บริเวณสะพาน 6) หรือที่หลายคนรู้จักกันดีในชื่อของ “หมู่บ้านดินสอพอง” ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่ทำดินสอพองกันแทบทุกครัวเรือน เนื่องจากพื้นที่บริเวณไม่เหมาะแก่การเพาะปลูก เนื่องจากมีดินสีขาวอยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้นำมาแปรรูปเป็นดินสอพองในที่สุด
ซึ่งที่ผ่านมาดินสอพองไม่ได้เป็นเพียงยาสมุนไพรเพื่อรักษาโรคอย่างในอดีตอีกต่อไปแล้ว แต่ดินสอพองได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของวัตถุดิบในสินค้าอุตสาหกรรมที่สำคัญของไทย เช่น อุตสาหกรรมยาสีฟัน, อุตสาหกรรมการผลิตธูป, ตกแต่งเครื่องเรือน, ไข่เค็มดินสอพอง, ทำสีฝุ่น และอุตสาหกรรมยาแผนปัจจุบันที่ใช้ในการรักษาสิว และโรยแผล ก็ใช้ดินสอพองเป็นส่วนหนึ่งของวัตถุดิบในการรักษาสิว
วิธีการผลิตดินสอพอง
ขั้นแรก คือ การขนดินมาร์ลใส่บ่อกาก แล้วปล่อยน้ำลงไปผสมให้ดินละลาย เมื่อดินละลายน้ำดีแล้ว ตักน้ำในบ่อกากเทใส่ตะแกรงลงในบ่อกรองหรือบ่อเนื้อเพื่อแยกเอาหินกรวด และเศษหญ้าทิ้งกากที่เหลือนี้นำไป ใช้ถมที่ได้
ขั้นที่สอง ตักน้ำดินจากบ่อกรอง เทผ่านผ้ากรองลงในบ่อทำแผ่น ทิ้งไว้ 1 คืน ดินขาวจะตกตะกอน นอนก้นบ่อตอนบนจะเป็นน้ำใส ค่อยๆ ช้อนหรือดูดเอาน้ำใสนี้ออกจากบ่อ จนเหลือแต่แป้งดินขาวข้น เหมือนดินโคลน
ขั้นที่สาม ตักโคลนดินสอพอง หยอดใส่แม่พิมพ์กลมที่ทำด้วยเหล็กไม่ขึ้นสนิม หรือไม้ไผ่นำมาขดเป็นวงกลม ก่อนหยอดโลนดินสอพองลงแห้งพิมพ์ จะต้องใช้ผ้าใบหรือผ้าชนิดอื่นๆ ปูรองพื้นก่อน เพื่อให้ผ้าดูดซับน้ำจากโคลน ดินสอพองด้วย หลังจากหยอดโคลนดินสอพองลงบนพิมพ์แล้ว ปล่อยทิ้งไว้กลางแจ้งสักครู่ แผ่นดินสอพอง จะหมาดเกาะติดกันเป็นก้อนแข็งพอที่จะใช้มือหยิบได้ จึงนำแผ่นดินสอพองไปวางบนตะแกรงไม้ไผ่ ผึ่งแดด ให้แห้งสนิทเมื่อแห้งดีแล้วจึงเก็บไว้เพื่อจำหน่ายต่อไป แผ่นดินสอพองที่แห้งสนิทจะมีสีขาวกว่าแผ่นที่ยังไม่แห้ง